News&update
 ข่าวสาร
 ความรู้
 Service
 บริการจัดทำบัญชี
 บริการงานตรวจสอบ และ Internal Audit
 บริการงานวางระบบ
 บริการงานทรัพยากรบุคคล
 บริการงานด้านทะเบียนพานิชย์
 บริการงาน Workpermit , VISA
 ตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ Express
วันนี้ 87
เมื่อวาน 223
สัปดาห์นี้ 310
สัปดาห์ก่อน 795
เดือนนี้ 2,018
เดือนก่อน 2,641
ทั้งหมด 428,903
  Your IP :52.14.116.76

การระบาดของโควิด 19 ทำให้วิถีชีวิตและการทำงานของทุกคนเปลี่ยนแปลงไป หลายธุรกิจต้องปิดกิจการหรือลดชั่วโมงการทำงาน หลายคนถูกลดเงินเดือนจนถึงตกงาน รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย หนี้สินพอกพูน ซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ทรุดหนัก อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ได้นิ่งดูดาย จึงได้ร่วมมือกับหลายภาคส่วนพยายามให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ และพักชำระหนี้ รวมทั้งจัดตั้งกลุ่มงานแก้ไขหนี้สินภาคประชาชนเพื่อขับเคลื่อนงานนี้อย่างเป็นระบบ ล่าสุดคือ งานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ (จัดถึง 30 มิถุนายน 2564) ที่ไม่เพียงได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี ทำให้ลูกหนี้ที่แม้ถูกพิพากษาแล้ว ยึดทรัพย์ กำลังจะขายทอดตลาด สามารถกลับมาเจรจากับเจ้าหนี้อีกครั้ง และเจ้าหนี้เองก็พร้อมมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้มากขึ้นด้วย

 

สำหรับการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลนอกจากโครงการคนละครึ่ง-เราชนะ ที่ช่วยเหลือรายได้ให้กับประชาชนแล้ว ก็ยังมีมาตรการช่วยลดภาระหนี้สินและเสริมสภาพคล่องให้กับประชาชนที่มุ่งช่วยเหลือกลุ่มที่เดือดร้อนให้ตรงจุดที่สุดอีกด้วย ซึ่งทีมงานพยายามรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแหล่งเดียวให้ได้มากที่สุด (จนถึง 12 พฤษภาคม 2564) พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ เพื่อให้ประชาชนสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย 

1. การให้ความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจแก่ลูกค้า

ท่านสามารถติดตามรายละเอียดการให้ความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารออมสิน บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารอิสลาม ได้ที่นี่

2. กระทรวงการคลัง

ผู้ประกอบสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามความสมัครใจ เช่น การพักชำระหนี้เงินต้น การขยายระยะเวลาของสัญญาเงินกู้ การลดอัตราดอกเบี้ย สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 1359 หรือเว็บไซต์ https://1359.go.th 

3. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

สำนักงานฯ รับขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกรตลอดปี 2564 เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรสมาชิก และสนับสนุนการพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร โดยช่วยแก้ไขหนี้สินอันเนื่องมาจากการประกอบเกษตรกรรม ซึ่งต้องเป็นหนี้ในระบบหนี้โครงการส่งเสริมของรัฐ หนี้จากการกู้ยืมธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือนิติบุคคล รวมถึงสหกรณ์การเกษตร สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 02 158 0342  อีเมล frdfund@frdfund.go.th  หรือเว็บไซต์ https://www.frdfund.org

4. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้เงินกู้กับชุมชนที่ต้องการไปสร้างอาชีพ โดยต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่มีลักษณะ (1) พัฒนาสินค้า ท่องเที่ยว บริการ และการค้า (เช่น OTOP ท่องเที่ยวชุมชนหรือในประเทศ การค้าส่ง การค้าปลีก) (2) ยกระดับประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการเกษตร (เช่น เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ Smart farming) (3) ส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน (เช่น อบรมอาชีพระยะสั้น อบรมยกระดับทักษะฝีมือ) (4) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการฟื้นตัวและพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน (เช่น ถนนในหมู่บ้าน แหล่งน้ำขนาดเล็ก)

ทั้งนี้ โครงการต้องมาจากความต้องการของพื้นที่ ดำเนินการผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน และแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564 สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 02 280 4085 อีเมล document@nesdc.go.th หรือเว็บไซต์ https://nesdc.go.th   

5. กองทุนและเงินทุนหมุนเวียนต่าง ๆ ของภาครัฐ

กองทุนและเงินทุนหมุนเวียนเป็นกิจกรรมที่สวนราชการจัดตั้งขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน หรือเพื่อประโยชนทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อชวยเหลือในการครองชีพ หรือบริการประชาชน แต่ไมสามารถใชวิธีการดําเนินการตามระเบียบของทางราชการได จึงเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่อาจช่วยเหลือประชาชนได้ ปัจจุบัน กองทุนและเงินทุนหมุนเวียนมีเป็นจำนวนมาก แต่เราเลือกเจาะข้อมูลเฉพาะที่เป็นประโยชน์กับลูกหนี้ 10 แห่ง ดังนี้

article_210526.jpg

article_210526-3.jpg

สุดท้ายนี้หวังว่า ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับลูกหนี้และผู้เกี่ยวข้อง ทีมงาน ธปท. ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านหลุดพ้นจากกับดักหนี้สินอย่างตั้งใจ

 

ผู้เขียน :
นิธิกานต์ คุณาศิรินทร์
กุลรวิภา ฉัตราธนันภัท 


 

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

 
แหล่งข้อมูล : www.bot.or.th (ธนาคารแห่งประเทศไทย)

 

Share on Facebook
 
 
Copyright © 2013-2015 sps-audit All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus